สนธิสัญญากรุงโรม(Treaty of Rome)
สนธิสัญญากรุงโรม(Treaty of Rome)
สนธิสัญญาโรม มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า สนธิสัญญาจัดตั้งประชาคมเศรษฐกิจยุโรป เป็นความตกลงระหว่างประเทศซึ่งนำไปสู่การก่อตั้งประชาคมเศรษฐกิจยุโรปในวันที่ 1 มกราคม ค.ศ. 1958 มีการลงนามเมื่อวันที่ 25 มีนาคม ค.ศ. 1957 โดยเบลเยียม ฝรั่งเศส อิตาลี ลักเซมเบิร์ก เนเธอร์แลนด์และเยอรมนีตะวันตก คำว่า "เศรษฐกิจ" ถูกลบออกจากชื่อสนธิสัญญา โดยสนธิสัญญามาสตริกต์ ใน ค.ศ. 1993 และสนธิสัญญาดังกล่าวเปลี่ยนใหม่เป็นสนธิสัญญาว่าด้วยการทำหน้าที่ของสหภาพยุโรป เมื่อสนธิสัญญาลิสบอนมามีผลใช้บังคับใน ค.ศ. 2009
ประชาคมเศรษฐกิจยุโรปเสนอให้ค่อยๆ ปรับภาษีศุลกากรลดลง และจัดตั้งสหภาพศุลกากร มีการเสนอใช้จัดตั้งตลาดร่วมสินค้า แรงงาน บริการและทุนภายในรัฐสมาชิกประชาคมเศรษฐกิจยุโรป และยังได้เสนอให้จัดตั้งนโยบายการขนส่งและเกษตรร่วมและกองทุนสังคมยุโรป สนธิสัญญายังได้ก่อตั้งคณะกรรมาธิการยุโรป
สนธิสัญญากรุงโรม ซึ่งถือเป็นปฏิญญาแห่งความเป็นเอกภาพ ที่หอดูดาวปาลาซโซ เด คอนแซร์วาตอรี บนเนินเขาคัมปิโดโย ในกรุงโรม ซึ่งเป็นการก่อตั้งโดย 6 ชาติคืออิตาลี ฝรั่งเศส เยอรมัน เบลเยียม เนเธอร์แลนด์ และลักเซมเบิร์ก ที่เป็นจุดกำเนิดของการก่อตั้งประชาคมเศรษฐกิจยุโรป (EEC) เมื่อ 60 ปีก่อนในวันที่ 25 มีนาคม 1957 ก่อนจะพัฒนามาเป็นอียูในปัจจุบัน
ในการลงนามสนธิสัญญากรุงโรมฉบับใหม่ของสมาชิกอียู 27 ชาติ เป็นการตอกย้ำว่า"ยุโรปเป็นอนาคตร่วมกันและจะผนึกเพิ่อความเป็นปึกแผ่นในโลกที่กำลังเปลี่ยนแปลงไป ทั้งนี้ ฟรองซัวส์ ออลลองด์ ประธานาธิบดีฝรั่งเศสกล่าวว่า สารจากกรุงโรมคือเราแข็งแกร่งมากขึ้นเมื่ออยู่ร่วมกัน ส่วนแองเกลา เมอร์เคิล นายกรัฐมนตรีเยอรมนีย้ำว่า นี่เป็นวันที่ยิ่งใหญ่ของยุโรป ขณะที่โดนัลด์ ทัสค์ ประธานคณะกรรมาธิการแห่งยุโรป ได้เรียกร้องความเป็นผู้นำให้ใส่ใจมรดกตกทอดที่รับช่วงต่อมาในการรวมยุโรปเข้าด้วยกันเมื่อ 60 ปีที่แล้ว ด้วยการร่วมมือในการค้ำยันประชาคมแห่งสหภาพยุโรปต่อไป
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น