สนธิสัญญารีโอเนจารีโอ



                                   สนธิสัญญารีโอเนจารีโอ


ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ สิ่งแวดล้อม

สนธิสัญญาRio (รีโอเดจาเนโร)

              ปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของโลกซึ่งก่อให้เกิดผลร้ายต่อมนุษย์ การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศดังกล่าว ส่วนใหญ่เกิดจากกิจกรรมของมนุษย์ก่อให้เกิดก๊าซซึ่งไปเพิ่มปฏิกิริยาเรือนกระจก (Green House Effect) ในชั้นบรรยากาศ ที่ทำให้ความหนาแน่นของก๊าซเรือนกระจกในบรรยากาศเพิ่มมากขึ้นจากที่มีอยู่แล้วในธรรมชาติเป็นอย่างมาก ผลของก๊าซเรือนกระจกดังกล่าวจะทำให้โลกมีอุณหภูมิสูงขึ้นหรือที่เรียกกันว่า “ภาวะโลกร้อน” ทั้งที่ผิวโลกและในบรรยากาศ เป็นเหตุให้โลกร้อนขึ้นและน้ำแข็งขั้วโลกละลาย ระดับน้ำทะเลจะสูงขึ้นและท่วมบริเวณที่ต่ำ ชายฝั่งทะเล ภูมิอากาศจะแปรเปลี่ยนไปด้วย อุณหภูมิที่สูงขึ้นดังกล่าวจะส่งผลกระทบระบบนิเวศทางธรรมชาติและต่อมวลมนุษย์ด้วย การปล่อยก๊าซเรือนกระจกส่วนใหญ่มาจากในประเทศที่พัฒนาแล้ว ในขณะที่การปล่อยก๊าซเรือนกระจกในประเทศกำลังพัฒนายังถือว่าอยู่ในเกณฑ์ต่ำแต่ก็มีแนวโน้มสูงขึ้นเพื่อตอบสนองความต้องการด้านสังคมและการพัฒนาของตน ประเทศต่าง ๆ จึงควรร่วมมือแก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโดยการควบคุมการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสู่อากาศและกำจัดก๊าซบางชนิดให้ลดลง
เนื่องจากมีความไม่แน่นอนหลายประการในการคาดการณ์เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโดยเฉพาะอย่างยิ่งเกี่ยวกับช่วงเวลา ปริมาณ และรูปแบบของการเปลี่ยนแปลง และด้วยลักษณะของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่เกิดขึ้นทั่วโลก ความร่วมมือของรัฐทั้งปวงเท่าที่จะเป็นไปได้และการมีส่วนร่วมของรัฐเหล่านั้นในการแก้ปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในระดับระหว่างประเทศตามความรับผิดชอบและขีดความสามารถของตนจึงมีความสำคัญอย่างยิ่ง ทุกประเทศจึงควรให้ข้อมูลที่เกี่ยวกับปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและความสามารถของแหล่งรองรับในประเทศ รายงานเกี่ยวกับแผนการควบคุมการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและการปรับตัวให้เข้ากับสภาพการเปลี่ยนแปลง สนับสนุนการจัดการและอนุรักษ์แหล่งรองรับก๊าซเรือนกระจก วางแผนรองรับผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น และให้ประชาชนได้มีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาดังกล่าว ประเทศที่พัฒนาแล้วควรช่วยประเทศที่กำลังพัฒนาให้มีความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจที่ยั่งยืน เพื่อให้ประเทศสามารถแก้ไขปัญหาที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ
จากปัญหาดังกล่าวองค์การสหประชาชาติโดยโครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ (United Nations Environment Programme: UNEP) ร่วมกับองค์การอุตุนิยมวิทยาโลก (World Meteorological Organization: WMO) ได้จัดตั้งคณะกรรมการระหว่างรัฐบาลด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Intergovernmental Panel on Climate Change: IPCC) ขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 1988 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิเคราะห์ข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับประเด็นการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และเพื่อเตรียมมาตรการและกลยุทธ์ที่เป็นไปได้ในการบริหารจัดการที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดยในปี ค.ศ. 1990 IPCC ได้จัดทำรายงานที่มีข้อสรุปยืนยันว่ากิจกรรมต่างๆ ของมนุษย์ส่งผลกระทบต่อสภาพภูมิอากาศจริง ประกอบกับในปีนั้นได้มีการจัดการประชุม Second World Climate Conference ขึ้น จึงทำให้ปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเป็นเรื่องที่อยู่ในความสนใจของนานาประเทศ จึงริเริ่มและดำเนินการเพื่อจัดทำกรอบอนุสัญญาฉบับนี้ ซึ่งได้สานต่อหลักการสำคัญ ๆ ของปฏิญญากรุงสต๊อกโฮล์มว่าด้วยสิ่งแวดล้อมของมนุษย์ ค.ศ. 1972 เช่น การรับรองสิทธิอธิปไตยของรัฐตามกฎบัตรสหประชาชาติและตามหลักกฎหมายระหว่างประเทศในการแสวงประโยชน์จากทรัพยากรตามนโยบายด้านสิ่งแวดล้อมของตน และกำหนดให้รัฐต้องมีความรับผิดชอบที่จะทำให้แน่ใจว่ากิจกรรมภายในเขตอำนาจหรือการควบคุมของตนไม่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อสิ่งแวดล้อมของรัฐอื่นหรือของบริเวณที่อยู่เลยออกไปจากเขตอำนาจแห่งชาติของตนและการปล่อยสารพิษหรือสารอื่นๆ และความร้อนในปริมาณหรือความหนาแน่นที่เกินกว่าขีดความสามารถของสิ่งแวดล้อมที่จะจัดการได้ ต้องหยุดกระทำเพื่อให้แน่ใจว่าความเสียหายร้ายแรงและที่ไม่สามารถแก้ไขได้จะไม่เกิดต่อระบบนิเวศ เป็นต้น
กรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ค.ศ. 1992 (United Nations Framework Convention on Climate Change, 1992 : UNFCCC) ได้รับการยอมรับในการประชุมที่สำนักงานใหญ่ขององค์การสหประชาชาติ กรุงนิวยอร์ค ประเทศสหรัฐอเมริกา เมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2535 และเปิดให้ลงนามในการประชุมสหประชาชาติว่าด้วยสิ่งแวดล้อมและการพัฒนา (United Nations Conference on Environment and Development) หรือการประชุมสุดยอดว่าด้วยสิ่งแวดล้อมและการพัฒนา ที่กรุงริโอ เด จาเนโร (Rio de Janeiro Earth Summit) สหพันธ์สาธารณรัฐบราซิล ในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2535 และมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2537
ประเทศไทยได้ลงนามในกรอบอนุสัญญา ฯ เมื่อเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2535 ณ นครรีโอเดจาเนโร สหพันธ์สาธารณรัฐบราซิล และให้สัตยาบันต่ออนุสัญญาฯ เมื่อวันที่ 28 ธันวาคม 2537 และตามข้อ 23 วรรค 2 ของอนุสัญญา ฯ ซึ่งจะมีผลใช้บังคับต่อประเทศไทยเมื่อพ้น 90 วันนับแต่วันที่มอบสัตยาบันสาร ดังนั้น อนุสัญญา ฯ จึงมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2538 สถานะของประเทศไทยตามอนุสัญญาฉบับนี้อยู่ในฐานะกลุ่มประเทศนอกภาคผนวกที่ 1 (Non-Annex I) ปัจจุบันอนุสัญญาฯ นี้มีประเทศภาคีสมาชิกจำนวน 192 ประเทศเนื่องจากมีความไม่แน่นอนหลายประการในการคาดการณ์เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโดยเฉพาะอย่างยิ่งเกี่ยวกับช่วงเวลา ปริมาณ และรูปแบบของการเปลี่ยนแปลง และด้วยลักษณะของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่เกิดขึ้นทั่วโลก ความร่วมมือของรัฐทั้งปวงเท่าที่จะเป็นไปได้และการมีส่วนร่วมของรัฐเหล่านั้นในการแก้ปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในระดับระหว่างประเทศตามความรับผิดชอบและขีดความสามารถของตนจึงมีความสำคัญอย่างยิ่ง ทุกประเทศจึงควรให้ข้อมูลที่เกี่ยวกับปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและความสามารถของแหล่งรองรับในประเทศ รายงานเกี่ยวกับแผนการควบคุมการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและการปรับตัวให้เข้ากับสภาพการเปลี่ยนแปลง สนับสนุนการจัดการและอนุรักษ์แหล่งรองรับก๊าซเรือนกระจก วางแผนรองรับผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น และให้ประชาชนได้มีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาดังกล่าว ประเทศที่พัฒนาแล้วควรช่วยประเทศที่กำลังพัฒนาให้มีความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจที่ยั่งยืน เพื่อให้ประเทศสามารถแก้ไขปัญหาที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศจากปัญหาดังกล่าวองค์การสหประชาชาติโดยโครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ (United Nations Environment Programme: UNEP) ร่วมกับองค์การอุตุนิยมวิทยาโลก (World Meteorological Organization: WMO) ได้จัดตั้งคณะกรรมการระหว่างรัฐบาลด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Intergovernmental Panel on Climate Change: IPCC) ขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 1988 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิเคราะห์ข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับประเด็นการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และเพื่อเตรียมมาตรการและกลยุทธ์ที่เป็นไปได้ในการบริหารจัดการที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดยในปี ค.ศ. 1990 IPCC ได้จัดทำรายงานที่มีข้อสรุปยืนยันว่ากิจกรรมต่างๆ ของมนุษย์ส่งผลกระทบต่อสภาพภูมิอากาศจริง ประกอบกับในปีนั้นได้มีการจัดการประชุม Second World Climate Conference ขึ้น จึงทำให้ปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเป็นเรื่องที่อยู่ในความสนใจของนานาประเทศ จึงริเริ่มและดำเนินการเพื่อจัดทำกรอบอนุสัญญาฉบับนี้ ซึ่งได้สานต่อหลักการสำคัญ ๆ ของปฏิญญากรุงสต๊อกโฮล์มว่าด้วยสิ่งแวดล้อมของมนุษย์ ค.ศ. 1972 เช่น การรับรองสิทธิอธิปไตยของรัฐตามกฎบัตรสหประชาชาติและตามหลักกฎหมายระหว่างประเทศในการแสวงประโยชน์จากทรัพยากรตามนโยบายด้านสิ่งแวดล้อมของตน และกำหนดให้รัฐต้องมีความรับผิดชอบที่จะทำให้แน่ใจว่ากิจกรรมภายในเขตอำนาจหรือการควบคุมของตนไม่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อสิ่งแวดล้อมของรัฐอื่นหรือของบริเวณที่อยู่เลยออกไปจากเขตอำนาจแห่งชาติของตนและการปล่อยสารพิษหรือสารอื่นๆ และความร้อนในปริมาณหรือความหนาแน่นที่เกินกว่าขีดความสามารถของสิ่งแวดล้อมที่จะจัดการได้ ต้องหยุดกระทำเพื่อให้แน่ใจว่าความเสียหายร้ายแรงและที่ไม่สามารถแก้ไขได้จะไม่เกิดต่อระบบนิเวศ เป็นต้นกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ค.ศ. 1992 (United Nations Framework Convention on Climate Change, 1992 : UNFCCC) ได้รับการยอมรับในการประชุมที่สำนักงานใหญ่ขององค์การสหประชาชาติ กรุงนิวยอร์ค ประเทศสหรัฐอเมริกา เมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2535 และเปิดให้ลงนามในการประชุมสหประชาชาติว่าด้วยสิ่งแวดล้อมและการพัฒนา (United Nations Conference on Environment and Development) หรือการประชุมสุดยอดว่าด้วยสิ่งแวดล้อมและการพัฒนา ที่กรุงริโอ เด จาเนโร (Rio de Janeiro Earth Summit) สหพันธ์สาธารณรัฐบราซิล ในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2535 และมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2537ประเทศไทยได้ลงนามในกรอบอนุสัญญา ฯ เมื่อเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2535 ณ นครรีโอเดจาเนโร สหพันธ์สาธารณรัฐบราซิล และให้สัตยาบันต่ออนุสัญญาฯ เมื่อวันที่ 28 ธันวาคม 2537 และตามข้อ 23 วรรค 2 ของอนุสัญญา ฯ ซึ่งจะมีผลใช้บังคับต่อประเทศไทยเมื่อพ้น 90 วันนับแต่วันที่มอบสัตยาบันสาร ดังนั้น อนุสัญญา ฯ จึงมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2538 สถานะของประเทศไทยตามอนุสัญญาฉบับนี้อยู่ในฐานะกลุ่มประเทศนอกภาคผนวกที่ 1 (Non-Annex I) ปัจจุบันอนุสัญญาฯ นี้มีประเทศภาคีสมาชิกจำนวน 192 ประเทศ

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

โครงงานไข่เค็มจากกลิ่นใบเตยและตะไคร้

ขนมหวานของญี่ปุ่น

สนธิสัญญาไซเตส (Treaty of Cites)