บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก ธันวาคม, 2018

สนธิสัญญาไซเตส (Treaty of Cites)

รูปภาพ
                      สนธิสัญญาไซเตส  (Treaty of Cites) อนุสัญญาว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศซึ่งชนิดสัตว์ป่าและพืชป่าที่ใกล้สูญพันธุ์   (อังกฤษ:  Convention on International Trade in Endangered Species of Wild Fauna and Flora ) หรือเรียกโดยย่อว่า  ไซเตส  ( CITES ) และเป็นที่รู้จักในชื่อ  อนุสัญญากรุงวอชิงตัน  (Washington Convention) เป็นสนธิสัญญาซึ่งเริ่มใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2518 ในปี พ.ศ. 2516 สหภาพนานาชาติเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติและทรัพยากรธรรมชาติ (IUCN) ได้จัดการประชุมนานาชาติขึ้นที่กรุงวอชิงตัน ดี.ซี. เพื่อร่างอนุสัญญาดังกล่าว มีผู้เข้าร่วมประชุม 88 ประเทศ แต่มีผู้ลงนามรับรองอนุสัญญาฉบับนี้ทันทีเพียง 22 ประเทศ สำหรับประเทศไทยได้ส่งผู้แทนเข้าร่วมประชุมด้วย แต่มาลงนามรับรองอนุสัญญาในปี พ.ศ. 2518 และให้สัตยาบันในวันที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2526 นับเป็นสมาชิกลำดับที่ 80 ปัจจุบัน ไซเตสมีภาคีทั้งสิ้น 181 รัฐ (ณ พฤษภาคม 2558) เป้าหมายของไซเตส คือ การอนุรักษ์ทรัพยากรสัตว์ป่าและพืชที่ใกล้จะสูญพันธุ์หรือถูกคุกคาม ทำให้ปริมาณร่อยหรอจนอาจเป็นเหตุให้สูญพันธุ์ วิธีการ

สนธิสัญญารีโอเนจารีโอ

รูปภาพ
                                   สนธิสัญญารีโอเนจารีโอ สนธิสัญญาRio (รีโอเดจาเนโร)               ปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของโลกซึ่งก่อให้เกิดผลร้ายต่อมนุษย์ การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศดังกล่าว ส่วนใหญ่เกิดจากกิจกรรมของมนุษย์ก่อให้เกิดก๊าซซึ่งไปเพิ่มปฏิกิริยาเรือนกระจก (Green House Effect) ในชั้นบรรยากาศ ที่ทำให้ความหนาแน่นของก๊าซเรือนกระจกในบรรยากาศเพิ่มมากขึ้นจากที่มีอยู่แล้วในธรรมชาติเป็นอย่างมาก ผลของก๊าซเรือนกระจกดังกล่าวจะทำให้โลกมีอุณหภูมิสูงขึ้นหรือที่เรียกกันว่า “ภาวะโลกร้อน” ทั้งที่ผิวโลกและในบรรยากาศ เป็นเหตุให้โลกร้อนขึ้นและน้ำแข็งขั้วโลกละลาย ระดับน้ำทะเลจะสูงขึ้นและท่วมบริเวณที่ต่ำ ชายฝั่งทะเล ภูมิอากาศจะแปรเปลี่ยนไปด้วย อุณหภูมิที่สูงขึ้นดังกล่าวจะส่งผลกระทบระบบนิเวศทางธรรมชาติและต่อมวลมนุษย์ด้วย การปล่อยก๊าซเรือนกระจกส่วนใหญ่มาจากในประเทศที่พัฒนาแล้ว ในขณะที่การปล่อยก๊าซเรือนกระจกในประเทศกำลังพัฒนายังถือว่าอยู่ในเกณฑ์ต่ำแต่ก็มีแนวโน้มสูงขึ้นเพื่อตอบสนองความต้องการด้านสังคมและการพัฒนาของตน ประเทศต่าง ๆ จึงควรร่วมมือแก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอ

สนธิสัญญากรุงโรม(Treaty of Rome)

รูปภาพ
สนธิสัญญากรุงโรม(Treaty of Rome) สนธิสัญญาโรม         มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า  สนธิสัญญาจัดตั้งประชาคมเศรษฐกิจยุโรป  เป็นความตกลงระหว่างประเทศซึ่งนำไปสู่การก่อตั้งประชาคมเศรษฐกิจยุโรปในวันที่ 1 มกราคม ค.ศ. 1958 มีการลงนามเมื่อวันที่ 25 มีนาคม ค.ศ. 1957 โดยเบลเยียม ฝรั่งเศส อิตาลี ลักเซมเบิร์ก เนเธอร์แลนด์และเยอรมนีตะวันตก คำว่า "เศรษฐกิจ" ถูกลบออกจากชื่อสนธิสัญญา โดยสนธิสัญญามาสตริกต์ ใน ค.ศ. 1993 และสนธิสัญญาดังกล่าวเปลี่ยนใหม่เป็นสนธิสัญญาว่าด้วยการทำหน้าที่ของสหภาพยุโรป เมื่อสนธิสัญญาลิสบอนมามีผลใช้บังคับใน ค.ศ. 2009 ประชาคมเศรษฐกิจยุโรปเสนอให้ค่อยๆ ปรับภาษีศุลกากรลดลง และจัดตั้งสหภาพศุลกากร มีการเสนอใช้จัดตั้งตลาดร่วมสินค้า แรงงาน บริการและทุนภายในรัฐสมาชิกประชาคมเศรษฐกิจยุโรป และยังได้เสนอให้จัดตั้งนโยบายการขนส่งและเกษตรร่วมและกองทุนสังคมยุโรป สนธิสัญญายังได้ก่อตั้งคณะกรรมาธิการยุโรป     สนธิสัญญากรุงโรม     ซึ่งถือเป็นปฏิญญาแห่งความเป็นเอกภาพ ที่หอดูดาวปาลาซโซ เด คอนแซร์วาตอรี บนเนินเขาคัมปิโดโย ในกรุงโรม ซึ่งเป็นการก่อตั้งโดย 6 ชาติคืออิตาลี ฝรั่งเศส

สนธิสัญญาโตเกียว(Treaty of Tokyo)

รูปภาพ
     สนธิสัญญาโตเกียว(Treaty of Tokyo)   การประชุม COP 3 ณ นครเกียวโต ประเทศญี่ปุ่น ได้มีการยกร่างพิธีสารเกียวโต (Kyoto Protocol) ขึ้นเมื่อวันที่ 11 ธันวาคม ค.ศ. 1997 เพื่อจัดการกับ ปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศอย่างเป็นรูปธรรม โดยมีรายละเอียดสาระสำคัญของพิธีสาร ดังนี้          ประเทศในกลุ่มภาคผนวกที่ I ให้มีการปฏิบัติและ/หรือเพิ่มเติมรายละเอียดในนโยบายและมาตรการตามสถานการณ์ของประเทศ อาทิ การเพิ่มประสิทธิภาพของการใช้พลังงาน การปกป้องรักษาและการขยายแหล่งรองรับและที่กักเก็บก๊าซเรือนกระจก โดยต้องกระทำอย่างสอดคล้องกับข้อตกลงด้านสิ่งแวดล้อมระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติการเพื่อส่งเสริมการจัดการป่าไม้อย่างยั่งยืน การฟื้นฟูป่าและการปลูกป่าการส่งเสริมรูปแบบการเกษตรที่ยั่งยืนโดยการคำนึงการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศการศึกษาวิจัยและส่งเสริมการพัฒนาและเพิ่มการใช้พลังงานในรูปแบบใหม่ๆ โดยใช้เทคโนโลยีที่ช่วยลดปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และมีนวัตกรรมใหม่ๆ ที่รักษาสิ่งแวดล้อมลดหรือเลิกการสนับสนุนกิจกรรมทางเศรษฐกิจในสาขาที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่ขัดต่อวัตถุประสงค์ของอนุสัญญาฯ จัด

สนธิสัญญาปารีส (Treaty of Paris)

รูปภาพ
         สนธิสัญญาปารีส (Treaty of Paris )          ความตกลงปารีส   ( อังกฤษ :  Paris Agreement ) เป็นความตกลงตาม กรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ  (ยูเอ็นเอฟซีซีซี) เพื่อกำหนดมาตรการลดการปล่อย คาร์บอนไดออกไซด์ ตั้งแต่ พ.ศ. 2563 ความตกลงดังกล่าวเจรจากันในช่วง การประชุมภาคีสมาชิกของยูเอ็นเอฟซีซีซีครั้งที่ 21  ณ กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส และได้รับความเห็นชอบในวันที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2558     โลร็อง ฟาบีอุส ประธานที่ประชุมและรัฐมนตรีว่าการต่างประเทศของฝรั่งเศส กล่าวว่าแผนการอัน "ทะเยอทะยานและสมดุล" นี้คือ  "จุดเปลี่ยนทางประวัติศาสตร์"    ในความพยายาม ลด ภาวะโลกร้อน        เป้าหมาย เป้าหมายของอนุสัญญามีระบุไว้ในข้อ 2 ว่า เพื่อ "ส่งเสริมการบังคับใช้" ยูเอ็นเอฟซีซี ด้วยการ "(ก) ควบคุมอุณหภูมิเฉลี่ยของโลกไม่ให้เพิ่มขึ้นเกิน 2 องศาเซลเซียสจากระดับอุณหภูมิช่วงก่อนยุคอุตสาหกรรม            และพยายามจำกัดการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิ 1.5 องศาเซลเซียสจากระดับอุณหภูมิช่วงก่อนยุคอุตสาหกรรม โดยตระหนักว่า ความพยายามนี้จะช

COP24

รูปภาพ
COP24 COP24   ย่อมาจาก   (Conference of the Parties of United Nations Framework Climate Change Convention)             การประชุมภาคีแห่งสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศครั้งที่ 24 (24th Conference of the Parties of United Nations Framework Climate Change Convention) หรือ COP 24 ซึ่งมีขึ้นตั้งแต่วันที่  2 ธันวาคม 2562   ที่ เมืองคาโตวีตเซ ประเทศโปแลนด์  ได้สิ้นสุดไปแล้วหลังจากที่ต้องยืดเวลาปิดการประชุมออกไป 2 วัน เพื่อขยายระยะเวลาในการเจรจา แต่ในที่สุดก็บรรลุเป้าหมายสามารถกำหนดแนวทางปฏิบัติหลักเกณฑ์ใหม่ตามข้อตกลงปารีสที่ได้ลงนามกั นตั้งแต่ปี 2558 ที่ทุกประเทศให้คำมั่นว่าจะลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกลง  เพื่อลดการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิโลกให้ต่ำกว่า 2 องศาเซลเซียส หรือไม่ให้เกิน 1.5 องศาเซลเซียส  ท่ามกลางการประท้วงของกลุ่มต่างๆ เป็นระยะๆ หน้าสถานที่จัดประชุม          นางแพททรีเซีย เอสพิโนซา เลขาธิการ UNFCCC      กล่าวว่า ความสำเร็จของการประชุมที่ฅโปแลนด์แสดงให้เห็นถึงความเข้มแข็งของข้อตกลงปารีส ซึ่งเป็นโรดแมปนำไปสู่การแก้ไขปัญหา Climate Change รวมทั้งแสดงใ